



วัดช่างฆ้องแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1900 ในสมัยพระเจ้ากาวิละ โดยชาวบ้านช่างฆ้องที่อพยพมาจากเชียงแสน ราวต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้สร้างขึ้น ทั้งนี้ มีเรื่องเล่าว่าแต่เดิมในสมัยโบราณวัดนี้เรียกกันว่า “วัดศรีพูนโต” แต่เมื่อพวกช่างทำฆ้องได้พากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ จึงได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่ และตั้งชื่อวัดตามอาชีพของชาวบ้านแถบนี้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม วัดนี้ตกอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2391 โดยภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย น่าชม – หอไตรโบราณ อายุกว่าร้อยปี ซึ่งเป็นหอไตรแห่งเดียวของเชียงใหม่ที่มีลักษณะเป็นตึกสองชั้น ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและไม้ฉลุที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยผสมผสานระหว่างไทย จีน และพม่า – พระวิหาร เป็นทรงล้านนา หน้าบันประดับรูปช้างสามเศียร เทวดา และลวดลายพรรณพฤกษา ผนังมีจิตรกรรมเรื่องพระเจ้าสิบชาติ และพุทธประวัติ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย – กำแพงดิน เป็นกำแพงเมืองชั้นนอกของเมืองเชียงใหม่ มีจุดเริ่มที่แจ่งศรีภูมิ คือ มุมกำแพงเมืองชั้นใน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เลื้อยยาวลงมาทางใต้แล้วอ้อมวกขึ้นไปบรรจบกับมุมกำแพงเมืองชั้นใน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่เรียกว่า แจ่งกู่เฮือง คาดว่า กำแพงนี้สร้างขึ้นพร้อมกับกำแพงเมืองชั้นในตั้ งแต่ครั้งสร้างเวียง เมื่อ 700 ปีที่แล้ว – เจดีย์องค์เก่า เป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่สร้างพร้อมกับการสร้างวัดปัจจุบันโดยตั้งอยู่ภายนอกบริเวณวัด ส่วนเจดีย์องค์ที่อยู่ภายในวัดนั้นเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองล้านนา ฐานล่างเป็นฐานเขียงเรียบ ถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมมาลัยเถาเป็นเหลี่ยม องค์ระฆังกลมส่วนยอดมีฉัตร มุมทั้งสี่ของเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบพม่า ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่